ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

living apart together (LAT)

รักที่แยกกันอยู่

การที่บุคคลซึ่งรักและผูกพันกันอย่างแนบแน่น หรือที่มีความสัมพันธ์เป็นคู่ชีวิตกันแล้วด้วยการแต่งงาน เลือกที่จะอยู่แยกกันคนละที่ ด้วยเหตุผลส่วนตัว การงาน หรือเหตุผลทางครอบครัว 

แนวโน้มอย่างหนึ่งของครอบครัวในสังคมสมัยใหม่ คือ การอยู่แยกกันของบุคคลที่มีความรักและผูกพันกันแนบแน่น รูปแบบของการอยู่ด้วยกันแบบนี้ มักจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์แบบคู่รัก ต่อมาเมื่อความสัมพันธ์นั้นพัฒนาเป็นความผูกพันที่ลึกซึ้งทั้งสองฝ่ายจึงตกลงเป็นชีวิตคู่กัน ในขั้นนี้การแต่งงานอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ทั้งสองฝ่ายสมัครใจที่จะแยกกันอยู่คนละที่ และความสัมพันธ์ก็จะดำเนินไปในแบบ “คู่แต่งงานที่แยกกันอยู่” การแยกกันอยู่เช่นนั้นอาจจะดำเนินต่อไปนานเท่าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องการ หรืออาจเปลี่ยนมาเป็นการอยู่ร่วมกันในที่เดียวเมื่อใดก็ได้  

เหตุที่คนซึ่งเป็นคู่รักและผูกพันกันแต่แยกกันอยู่คนละที่นั้น อาจเป็นเรื่องบุคคลที่ต้องการจะคงความปัจเจกของตนไว้ โดยถือว่าการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น แม้จะเป็นคนที่ตนรักและผูกพัน เป็นการเสียความเป็นปัจเจกของตน (individuality) สำหรับบางคู่การแยกกันอยู่คนละที่อาจเนื่องมาจากความจำเป็นเรื่องหน้าที่การงาน (employment) ซึ่งจะพบได้มากในปัจจุบันที่การเคลื่อนย้ายแรงงานเกิดขึ้นมากในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ แต่สำหรับบางคนการแยกกันอยู่อาจเนื่องมาจากความจำกัดของที่อยู่อาศัย (housing)

ปารกฏการณ์รักแต่แยกกันอยู่นี้ต่างกับ การอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงาน (cohabitation) และต่างกับการแต่งงานที่ทั้งสองฝ่ายอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ปรากฏการณ์นี้อาจเกิดขึ้นในกลุ่มคนในวัยไหนก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะพบในกลุ่มวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะประชากรเจนวาย (generation Y) อย่างไรก็ตาม มีรายงานการศึกษาว่าในสังคมตะวันตกปัจจุบัน แม้คนที่รักและผูกพันกันในวัยสูงอายุก็มีการปฏิบัติเรื่องนี้ไม่น้อยเหมือนกัน

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 22/04/2565

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015